วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทความทางวิชาการ : ไอบีเอ็ม (IBM) แชมป์ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์เร็วที่สุดในโลก





               เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน สำนักข่าวบีบีซี นิวส์ จากประเทศอังกฤษ รายงานว่า บริษัทไอบีเอ็ม (IBM) บริษัทด้านเทคโนโลยีรายใหญ่ของประเทศสหรัฐอเมริกา เผยโฉมซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูงที่สุดในโลก "ซีคัวร์ย่า" (Sequoia) ออกมาเรียบร้อยแล้ว โดยสามารถโค่น เค คอมพิวเตอร์ (K Computer) ของบริษัทฟูจิตสึลงจากอันดับหนึ่งได้สำเร็จ

      ทั้งนี้ซีคัวร์ย่าได้พิสูจน์ออกมาให้เห็นแล้วว่า มีศักยภาพด้านความเร็วมากกว่าเค คอมพิวเตอร์ ของฟูจิตสึถึง 1.55 เท่า และใช้โพรเซสเซอร์มากกว่า 1.5 ล้านตัว อีกทั้งยังกินไฟเพียง 7.9 เมกะวัตต์ ขณะที่เค คอมพิวเตอร์ต้องใช้ไฟถึง 12.6 เมกะวัตต์ เลยทีเดียว
         ปัจจุบันเจ้าคอมพิวเตอร์ซีคัวร์ย่า ได้นำมาติดตั้งอยู่ที่ห้องทดลองแห่งชาติ ลอร์เรนซ์ ริเวอร์มอร์ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ภายใต้การดูแลของกระทรวงพลังงาน ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในการสร้างแบบจำลองอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อหลีกเลี่ยงการทดสอบจริงในชั้นใต้ดินของผืนโลก ซึ่งอาจส่งผลกระทบข้างเคียงขึ้นมาได้

        โดยที่ซีคัวร์ย่า มีความสามารถในการคำนวณข้อมูลเหนือขีดจำกัดได้ภายในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง ซึ่งเท่ากับเวลา 320 ปี ที่มนุษย์ราว 6.7 พันล้านคน ร่วมกันใช้เครื่องคิดเลขคำนวณอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีหยุด

        อย่างไรก็ดี แม้ว่าสุดยอดคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเครื่องนี้ จะช่วยให้สหรัฐอเมริกากลับมาทวงตำแหน่งผู้นำคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงได้อีกครั้ง หลังจากที่เสียตำแหน่งอันดับหนึ่งให้กับบริษัทคอมพิวเตอร์ในประเทศญี่ปุ่นไปเมื่อ 2 ปีก่อน แต่เมื่อพิจารณาถึงภาพรวม 10 อันดับแรกของซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ในโลก ปัจจุบันมีอยู่ในสหรัฐอเมริกาเพียง 3 เครื่องเท่านั้น ทั้งที่เมื่อครึ่งปีก่อนมีถึง 5 เครื่องด้วยกัน ส่วนจีนและเยอรมันมีอยู่ประเทศละ 2 เครื่อง ขณะที่ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส และอิตาลีมีประเทศละ 1 เครื่อง

        10 อันดับ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ของโลก (นับถึงเดือนถุนายน 2012)


      1. IBM: Sequoia
      (ตั้งอยู่ที่ DOE Lawrence Livermore National Laboratory , ประเทศสหรัฐอเมริกา)


      2. Fujitsu: K
      (ตั้งอยู่ที่ RIKEN Advanced Institute for Computational Science , ป
ระเทศญี่ปุ่น)

      3. IBM: Mira
      (ตั้งอยู่ที่ DOE/SC/Argonne National Laboratory, ประเทศสหรัฐอเมริกา)


      4. IBM: SuperMUC
      (ตั้งอยู่ที่ Leibniz Rechenzentrum, ประเทศเยอรมัน)


      5. NUDT: Tianhe-1A
      (ตั้งอยู่ที่ National Supercomputing Center ในเมืองเทียนจิน, ประทศจีน)


      6. Cray: Jaguar 
      (ตั้งอยู่ที่ DOE/SC/Oak Ridge National Laboratory, ประเทศสหรัฐอเมริกา)

      7. IBM: Fermi
      (ตั้งอยู่ที่ CINECA, ประเทศอิตาลี)


      8. IBM: JuQUEEN
      (ตั้งอยู่ที่ Forschungszentrum Juelich, ประเทศเยอรมัน)


      9. Bull: Curie thin nodes     
      (ตั้งอยู่ที่ CEA/TGCC-GENCI, ประเทศฝรั่งเศส)

      10. Dawning: Nebulae 
       (ตั้งอยู่ที่ National Supercomputing Centre ในเมืองเซินเจิ้น, ประเทศจีน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น